แผนกวิชาช่างยนต์

แผนกวิชาช่างยนต์

Auto Mechanic Program

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพช่างยนต์ตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้ และบํารุงรักษาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในงานอาชีพ ตามหลักการและกระบวนการโดยคํานึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • อ่านแบบ เขียนแบบเทคนิคและเลือกใช้วัสดุอุตสาหกรรม
  • ขึ้นรูปงานโลหะด้วยเครื่องมือเบื้องต้น
  • ประกอบ ทดสอบวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
  • เชื่อมโลหะและประกอบขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โลหะแผนเบื้องต้น
  • ถอด ประกอบ บำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและดีเซล ระบบเครื่องล่างรถยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ และระบบไฟฟ้ารถยนต์ตามคู่มือ
  • ประยุกต์หลักกลศาสตร์และเทอร์โมไดนามิกส์เบื้องต้นในงานเครื่องกล
  • ขับรถยนต์ตามกฎจราจร
  • ตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องกลโดยใช้เครื่องมือวัดละเอียด
  • อ่านวงจร ต่อวงจร ทดสอบวงจรนิวเมติกและไฮดรอลิกส์เบื้องต้น
  • ให้คําแนะนําพื้นฐานที่ต้องใช้การตัดสินใจและการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน
  • ซ่อมและบํารุงรักษาเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซล รถจักรยานยนต์ ระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์ตามคู่มือ
  • บริการระบบปรับอากาศ ซ่อม และบํารุงรักษารถยนต์ตามคู่มือ

แนวทางการประกอบอาชีพ

ช่างยนต์ประจำหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน, ช่างยนต์ประจำศูนย์บริการ, เจ้าของกิจการซ่อมบำรุงรถยนต์ และอื่น ๆ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
  • ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

รับผู้จบ ปวช. หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพช่างยนต์ตามหลักการและกระบวนการ
  • เลือกใช้ และบํารุงรักษาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในงานอาชีพ ตามหลักการและกระบวนการโดยคํานึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
  • อ่านแบบ เขียนแบบเทคนิคและเลือกใช้วัสดุอุตสาหกรรม
  • ขึ้นรูปงานโลหะด้วยเครื่องมือเบื้องต้น
  • ประกอบ ทดสอบวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
  • เชื่อมโลหะและประกอบขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โลหะแผนเบื้องต้น
  • ถอด ประกอบ บำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและดีเซล ระบบเครื่องล่างรถยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ และระบบไฟฟ้ารถยนต์ตามคู่มือ
  • ประยุกต์หลักกลศาสตร์และเทอร์โมไดนามิกส์เบื้องต้นในงานเครื่องกล
  • ขับรถยนต์ตามกฎจราจร
  • ตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องกลโดยใช้เครื่องมือวัดละเอียด
  • อ่านวงจร ต่อวงจร ทดสอบวงจรนิวเมติกและไฮดรอลิกส์เบื้องต้น
  • ให้คําแนะนําพื้นฐานที่ต้องใช้การตัดสินใจและการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน
  • ซ่อมและบํารุงรักษาเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซล รถจักรยานยนต์ ระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์ตามคู่มือ
  • บริการระบบปรับอากาศ ซ่อม และบํารุงรักษารถยนต์ตามคู่มือ

แนวทางการประกอบอาชีพ

ช่างยนต์ประจำหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน, ช่างยนต์ประจำศูนย์บริการ, เจ้าของกิจการซ่อมบำรุงรถยนต์ และอื่น ๆ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 8,000 – 15,000 บาท
  • ภาคเอกชน 9,000 – 18,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)

ครูผู้สอน

Teachers

นายรุ่ง ชมภูมิ่ง

หัวหน้าแผนกวิชาเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์

 

นายเกียรติศักดิ์  วงศ์ษา

หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายพิเชษฐ์  แสงดาว

หัวหน้าแผนกวิชางานจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กเอนกประสงค์

นายปัณณทัต คำหอม

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายจตุรงค์ ป้วนป้อม

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายสราวุธ ปันทะนะ

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายธนวัฒน์  วิชัย

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายอรรถกร หมอเอ็ด

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายอนุสรณ์ ไสยรัตน์

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายธนากร  สุตาลา

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายสมชาย  แสงคำ

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายอมรเทพ  วิชัย

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายปฏิภาณ  สวัสดี

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นางสาวศันสนีย์  แพ่งพนม

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายวัฒนา  กุณาฝั้น

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

นายฐิติวุฒิ  เตียวกุล

ครูแผนกวิชาช่างยนต์

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย